Tuesday, December 25, 2012
Terry Grant - Drift Master Dec 2012
Terry Grant - Drift Master Dec 2012
From Race of champion Thailand Dec 2012
Tony Grant show his drifting skill on intermission.
Video by thammada.com
Michael Schumacher VS ณัฐวุฒิ เจริญสุขะวัฒนะ Dec 2012
Michael Schumacher VS ณัฐวุฒิ เจริญสุขะวัฒนะ Dec 2012
Race of Champion Thailand 2012
Video by share.Thammada.com
Thursday, December 20, 2012
Friday, December 14, 2012
ความรู้เรื่องดิน จากวันดินโลก
ความรู้เรื่องดินจากงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นักวิทยาศาสตร์ดินเพื่อมนุษยธรรม และวันดินโลก 5 ธันวาคม 2555
"ดินมีปัญหา ไม่ค่อยมีใครเขาอยากทำ เพราะแก้ไขยากเราจึงต้องทำ"
"พื้นที่ดินในประเทศไทยเป็นดินที่มีปัญหาประมาณ 51.09 % อีก 48.91% เป็นพื้นที่ดินดี "
หนังสือ"แม่อยากให้เธออยู่กับดิน"
อันเนื่องมาจากโครงการในพระราชดำริ มีจำนวนกว่า 4100 โครงการ
ตั้งต้นที่น้ำ มองภาพปัญหาน้ำ น้ำท่วม น้ำแล้ง น้ำเสีย แล้วใช้วิธีแก้โดยธรรมชาติ ฝนหลวงแก้น้ำแล้ง
โครงการอ่างเก็บน้ำและระบบชลประทาน และฝายชะลอความชุ่มชี้นตามลำน้ำต่างๆ ทำให้ดินมีความชุ่มชื้น ผืนป่าเสื่อมโทรมกลับงอกงามเป็นป่าสมบูรณ์ เป็นการปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก และเก็บน้ำที่สร้างแล้วไว้ในที่สูง
เรื่องดิน เป็นปัจจัยที่สำคัญในการผลิตทางการเกษตร ปัญหาคือ ดินเปรี้ยว ดินทราย ดินตื้น ดินลูกรัง ดินดาน ดินเสื่อมความอุดมสมบูรณ์ ดินถูกชะล้างพังทลาย โดยได้เริ่มต้นจากแปลงทดลอง เมื่อได้ผลแล้วจึงนำไปขยายผลในพื้นที่จริง เพื่อทำให้ดินที่มีปัญหาเพาะปลูกไม่ดี กลับฟื้นคืนมาจนสามารถปลูกพืชผลต่างๆได้ดี ส่งผลเพิ่มรายได้เกษตรกร มีความเป็นอยู่ดี
1.ฝนหลวง แก้ปัญหาความแห้งแล้ง
2. รักษาและเพิ่มป่าไม้ ซึ่งเป็นที่เก็บน้ำที่ดีที่สุด
3 ฝายต้นน้ำ เพื่อชะลอน้ำ (Checkdam) สร้างความชุ่มชื้นรักษาผืนป่า
4 หญ้าแฝก ป้องกันดินพังทะลาย ชะลอความรุนแรงของน้ำ เพิ่มพื้นที่เพาะปลูก
5 อ่างเก็บน้ำบริเวณเชิงเขา เก็บน้ำไว้บริหารได้ง่าย
6.เขื่อน เก็บน้ำไว้บริหาร ชลประทาน บรรเทาปัญหา น้ำท่วม น้ำแล้ง
7 เกษตรทฤษฎีใหม่ พึ่งพาตนเอง ใช้ทรัพยากรคุ้มค่า
8 แก้มลิง ป้องกันน้ำท่วม
9 คันกั้นน้ำ ป้องกันน้ำท่วม
10 ทางผ่านน้ำ (Flood way) ป้องกันน้ำท่วม
11 กังหันน้ำชัยพัฒนา แก้ปัญหาน้ำเสีย
12 ช่องทางระบายน้ำลงทะเล (คลองลัดโพธิ์) ป้องกันน้ำท่วม
13 ป่าชายเลน เพื่อรักษาระบบนิเวศน์ชายฝั่ง และ ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง
ดิน : ดินเป็นวัสดุธรรมชาติ ที่เกิดจากการผุพังสลายตัวของหินและแร่ตลอดจนซากพืชซากสัตว์ผสมคลุกเคล้ากัน ดินปกคลุมพื้นผิวโลกอยู่เป็นชั้นบางบาง เป็นที่ยึดเหนี่ยวและเจริญเติบโตของพืช รวมถึงเป็นแหล่งน้ำและอาหารของสิ่งมีชีวิตอื่นอื่น ที่อาศัยอยู่ในดินและบนดิน
ดินที่เหมาะสมสำหรับการเกษตรกรรม ต้องมีคุณสมบัติต่างๆดังนี้
มีแร่ธาตุ ที่เรียกว่าปุ๋ย ส่วนประกอบสำคัญคือ
1 N (nitrogen) ในรูป nitrate
2 P (Phosphorus) ในรูป phosphate
3 K (potassium)
และแร่ธาตุอื่นๆ O H Mg Fe
มีระดับเปรี้ยว ด่าง ใกล้เป็นกลาง ( pH 7 )
มีความเค็ม ต่ำ
มีจุลินทรีย์
มีความชื้นเหมาะสม (ไม่แห้ง ไม่แฉะ)
มีความโปรงพอเหมาะ (ไม่แข็ง)
ดินที่มีปัญหา
1.ศูนย์ศึกษาการพัฒนา เขาหินซ้อน ฉะเชิงเทรา : ดินทราย มีแร่ธาตุน้อย
2. ศูนย์ศึกษาการพัฒนา ห้วยฮ่องไคร้ เชียงใหม่ : หิน กรวด แห้งแล้ง
3. ศูนย์ศึกษาการพัฒนา พิกุลทอง นราธิวาส: ดินเปรี้ยวจัด
4. ศูนย์ศึกษาการพัฒนา ห้วยทราย เพชรบุรี : ดินทราย มีแร่ธาตุน้อย ดินดาน
5. ศูนย์ศึกษาการพัฒนา ภูพาน สกลนคร: ดินทราย ดินเค็ม ขาดน้ำ
6. ศูนย์ศึกษาการพัฒนา อ่าวคุ้งกระเบน จันทบุรี : ดินเค็ม
7. โครงการ เขาชะงุ้ม ราชบุรี: ดินแข็ง ดิน-หินลูกรัง
8. โครงการ วัดมงคลชัยพัฒนา สระบุรี : ขาดน้ำ
9 โครงการ ปากพนัง นครศรีธรรมราช : น้ำเค็ม ดินเค็ม ดินเปรี้ยวจัด
10 ที่ดิน ต.บ้านพริก อ.บ้านนา นครนายก: ดินเปรี้ยว น้ำท่วม น้ำแล้ง
11 โครงการ หนองพลับ - กลัดหลวง ประจวบคีรีขันธ์ : ดินลูกรัง ดินดาน
12 โครงการ หุบกะพง-ดอนขุนห้วย เพชรบุรี : ดินทราย มีแร่ธาตุน้อย ดินดาน ขาดน้ำ
13 โครงการ สหกรณ์สันกำแพง เชียงใหม่ : ดินลูกรัง ขาดน้ำ
ดินที่พบในประเทศไทย
ดินเค็ม เนื้อดินค่อนข้างหยาบทับอยู่บนเนื้อค่อนข้างละเอียด พบในที่ลุ่ม ระบายน้ำเลว มีปัญหาการเกษตรเนื่องจากความเค็ม
ดินเหนียว เนื้อดินละเอียด พบในที่ลุ่ม ระบายน้ำเลว น้ำขังได้ดี เหมาะสำหรับการทำนาข้าว
ดินร่วนละเอียด เนื้อดินค่อนข้างละเอียด พบในที่ลุ่ม ระบายน้ำค่อนข้างเลว เหมาะสำหรับการทำนาข้าว
ดินร่วนปนทราย เนื้อดินค่อนข้างหยาบ พบในที่ดอน ระบายน้ำดี เหมาะสำหรับปลูกพืชไร่ ไม้ผล
ชุดดินในประเทศไทย
ลักษณะดินและคุณสมบัติของดิน แบ่งได้ 2 กลุ่มหลัก
ลักษณะทางกายภาย ได้แก่ ชั้นดิน สีดิน เนื้อดิน โครงสร้างดิน ความหนาแน่นของดิน อุณหภูมิดิน ความชื้นในดิน
ลักษณะทางเคมี ได้แก่ ปฏิกิริยาดิน ความสามารถในการแลกเปลี้่ยนประจุบวกของดิน เป็นต้น
ชั้นดิน เมื่อขุดดินลึกลงไปแนวดิ่ง จะเห็นดินแบ่งเป็นชั้นๆ เรียกว่าชั้นดิน แต่ละชั้นมีความหนาแตกต่างกันไปขึ้นกับกระบวนการเกิดและพัฒนาของดินนั้น โดยทั่วไปดินบนมีความอุดมสมบูรณ์สูง ควรดูแลรักษาไว้ไม่ให้สูญเสียไป
ชั้นดินแบ่งได้เป็น 6 ชั้น
1 ชั้น O หรือชั้นดินอินทรีย์เป็นอินทรีย์วัตถุซึ่งมาจากการสลายตัวของซากพืชซากสัตว์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นใบไม้กิ่งไม้และหญ้ามักมีสีดำคล้ำ
2 ชั้นดิน A หรือชั้นดินแร่ธาตุ
เป็นชั้นดินแร่ธาตุผสมคลุกเคล้ากับอินทรียวัตถุมักมีสีคล้ำ มีลักษณะการรบกวนจากการไถพรวนในพื้นที่เกษตร
3 ชั้นดิน E หรือชั้นดินชะล้าง
เป็นชั้นที่มีการสูญเสีย แร่ดินเหนีว เหล็ก หรืออินทรียวัตถุ ออกไปโดยการชะล้างซึมลึก ชั้นดินนี้มักมีสีจากและมีเนื้อดินหยาบกว่าชั้นชั้นที่อยู่ถัดไป
4ชั้นดิน B หรือชั้นดินล่าง
เป็นชั้นที่แสดงถึงการเคลื่อนย้ายวัสดุจากตอนบนมาสะสม มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนา ทำให้ดินมีลักษณะแตกต่างกัน เช่น เกิดโครงสร้างดิน สีดิน เนื้อดินที่แตกต่างกัน โดยทั่วไปดินในชั้นดินนี้จะมีสีน้ำตาล เทา ดำ เขียว เหลือง และแดง
5 ชั้นดิน C หรือชั้นวัตถุต้นกำเนิดดิน
เป็นชั้นของวัสดุที่เกาะตัวกันอยู่หลวมๆ ประกอบด้วยหินและแร่ที่กำลังผุพังสลายตัว หรือตะกอนที่ถูกพัดพามาจากที่อื่นซึ่งต่อไปจะพัฒนาเป็นดิน
6 ชั้นดิน R หรือชั้นพินพื้น
เป็นชั้นหินแข็งชนิดต่างๆ เป็นหินที่ยังไม่ผุพังสลายตัวอละเชื่อมกันแน่น
สีดิน เป็นคุณสมบัติของดินที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า กินที่ระบายน้ำดีมักมีสีแดงหรือเหลือง ดินที่มีน้ำขังในฤดูฝนมักพบจุดประสีสนิมเหล็ก ดินที่มีน้ำแช่ขังถาวรเช่น ป่าชายเลน จะมีสีน้ำเงินปนเทา หรือเทาปนเขียว ดินที่มีอินทรียวัตถุอยู่มากมักสีดำคล้ำ ดินจืดขาดธาตุอาหารพืชมักมีสีขาวซีด
พื้นที่ดินในประเทศไทยเป็นดินที่มีปัญหาประมาณ 51.09 % อีก 48.91% เป็นพื้นดินที่ไม่มีปัญหา
ดินดี คือดินที่สามารถใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกได้อย่างดี มีธาตุอาหาร น้ำและอากาศในสัดส่วนที่เหมาะสม ดินดีมักมีหน้าดินสีดำ มีปริมาณอินทรียวัตถุสูง มีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชสูง ไม่มีสารที่เป็นพิษต่อพืช มีความเป็นกรดด่าง pH 5.5-7.0 และไม่มีอุปสรรคในการไถพรวน ไม่ต้องปรับปรุงดินมากนักในการปลูกพืช
ดินเลว คือ ดินไม่ดี ต้องจัดการแก้ไขให้เหมาะสมเสียก่อน ที่เกิดโดยธรรมชาติได้แก่ ดินตื้น ดินปนกรวด ดินเค็ม ดินเปรี้ยวจัด ดินทรายจัด ดินอินทรีย์
ดินเลวและการแก้ปัญหา
ดินตื้น
ดินเปรี้ยว
-พระราชดำริในการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวจัด โครงการ แกล้งดิน
ดินเปรี้ยวจัด ( Acid Sulfate Soil) เป็นดินกรดรุนแรงมาก มีค่าความเป็นกรดด่าง(pH)น้อยกว่า 4.0 ขาดธาตุอาหารพืช มีเหล็กและอะลูมิเนียมมากจนเป็นพิษต่อพืช พบสารสีเหลืองฟางข้าวที่เรียกว่า จาโรไซต์และคราบสนืมเหล็กในชั้นดิน เป็นดินที่มีสารประกอบกำมะถันมาก ปลูกพืชไม่เจริญเติบโต ให้ผลผลิตต่ำ
โครงการ "แกล้งดิน" เริ่มจากวิธีการ แกล้งดินให้เปรี้ยว ด้วยการทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกันไป เมื่อดินแห้ง สารประกอบกำมะถัน(สารไพไรต์) ที่มีอยู่ในดินทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ ปลดปล่อยกรดกำมะถันออกมาทำให้ดินเป็นกรดจัด เมื่อแกล้งดินให้เปรี้ยวสุดขีด หรือทำให้ดินเป็นกรดจัด จนกระทั่งถึงจุดที่พืชไม่สามารถเจริญงอกงามได้ ให้ศึกษาทดลองเพื่อหาวิธีปรับปรุงดินดังกล่าวให้เพาะปลูกพืชได้
วิธีการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวจัด ตามแนวพระราชดำริ
1 ใช้น้ำชะล้างกรด ควบคู่กับการใช้วัสดุปูนปรับปรุงดิน
2 ควบคุมระดับน้ำใต้ดินให้อยู่เหนือชั้นดินเลนที่มีสารประกอบไพไรต์อยู่หรือประมาณ 80 ซ.ม. ใต้ผิดดิน เพื่อป้องกันการเกิดกรดกำมะถัน
3 ใช้พันธ์พืชทนเปรี้ยว
กรณีเขาเต่าดินบริเวณเขาเต่า
ในหลวงทรงทอดพระเนตรและอธิบาย ถึงดึงที่เจาะขุดขึ้นมา 3 เมตร ที่บริเวณหน้าโรงเรียนเทศบาลตำบลเขาเต่า ว่า
ช่วงบนสุดของดินเป็นดินถม ซึ่งส่วนบนสุดเป็นดินลูกรัง ชัั้นถัดไปเป็นดินทราย ส่วนดินที่ลึกประมาณ 150 ซ.ม. ลงไปเป็นดินเดิมก่อนถม เป็นดินที่เลย ทั้งเปรี้ยวและเค็ม สังเกตุดูจะพบจุดสีเหลืองฟางข้าว เรียกว่า Jarosite mottles ดินพวกนี้มีกำมะถันมาก ถ้าดินไม่แห้ง จะไม่เกิดปฏิกิริยาเคมี แต่ถ้าดินแห้ง กำมะถันในดิน(S) จะเกิดปฏิกิริยากับอ๊อกซิเจนในอากาศ (O2) กลายเป็น SO3 และเมื่อทำปฏิกิริยากับน้ำจะกลายเป็นกรดกำมะถัน (H2SO4) ทำให้ดินเป็นกรดจัด ต่อมามีน้ำทะเลมาถึง เมื่อน้ำลดไป เกลือจะสะสมอยู่หน้าดิน ทำให้ดินนี้ทั้งเค็มและเปรี้ยวจัด คุณภาพเลยใช้ปลูกอะไรไม่ได้
ปัญหาดินทราย
พระราชดำริแก้ไขปัญหาหน้าดินถูกชะล้าง
พระราชกระแส เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2512 " จำได้ว่าที่โรงเรียนมีครูคนหนึ่ง สอนเรื่องวิทยาศาสตร์ เรื่องการอนุรักษ์ดินและน้ำ แล้วให้เขียนว่า ภูเขาต้องมีป่า ไม่อย่างนั้นฝนตกลงมาจะชะดินลงเร็วทำให้ไหลตามน้ำไป ทำให้เสียหาย ดินหมดจากภูเขา เพราะไหลตามสายน้ำไป ก็เป็นหลักของป่าไม้ เรื่องการอนุรักษ์ดิน ถ้าเราไม่รักษาป่าข้างบน ก็จะเดือดร้อนตลอด ตั้งแต่ดินภูเขาหมดไป จนกระทั่งที่มีตะกอนลงมาในเขื่อน มีตะกอนลงมาในแม่น้ำ ทำให้น้ำท่วม นี่เรียนมาตั้งแต่ 10 ขวบ"
พระราชดำริการใช้หญ้าแฝกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำ
ปประโยชน์ของหญ้าแฝก Vetiver Grass Biomass Data and its usefulness
ประโยชน์ของหญ้าแฝก Vetiver Grass Biomass Data and its usefulness
- ใบ จับคาร์บอน
- ใบ ปล่อยออกซิเจน
- มวลชีวภาพของต้น 45 กรัมต่อต้น หรือ 300 กิโลกรัมต่อไร่
- มวลชีวภาพของราก 50 กรัมต่อต้น หรือ 320 กิโลกรัมต่อไร่
- ช่วยกักตะกอนดินเพิ่ม 60-80%
- ลดการชะล้างหน้าดิน และลดความเร็วน้ำไหลบ่า 50-70%
- รากช่วยปลดปล่อยสารอินทรีย์เพิ่มความสมบูรณ์ของดิน
- รากเป็นแหล่งของเชื้อจุลินทรีย์ในดิน
- เพิ่มอินทรีย์วัตถุในดิน 64 กรัมต่อต้น หรือ 412 กิโลกรัมต่อไร่
ทฤษฎีใหม่
เกษตรทฤษฎีใหม่
1.ต้องมีที่ดิน
2.ขุดเป็นบ่อน้ำ แล้วต้องมีน้ำเพียงพอด้วย
พระราชดำรัส ทฤษฎีใหม่
"หลักมีว่า แบ่งที่ดินเป็นสามส่วน ส่วนหนึ่งเป็นที่สำหรับปลูกข้าว อีกส่วนหนึ่งสำหรับปลูกพืชไร่ พืชสวน และก็มีที่สำหรับขุดสระน้ำ ดำเนินการไปแล้ว ทำอย่างธรรมดาอย่างชาวบ้านในที่สุดได้ข้าวได้ผัก ขายข้าวกับผักนี่มีกำไร 2 หมื่นบาทต่อปี หมายความว่าโครงการนี้ใช้งานได้ เมื่อใช้งานได้ก็ขยายโครงการ ทฤษฎิใหม่นี้โดยทำที่อื่น นอกจากมีสระน้ำแล้ว จะต้องมีอ่างเก็บน้ำที่ใหญ่กว่าอีกแห่ง เพื่อเสริมสระน้ำ ในการนี้ได้รับความร่วมมือจากบริษัทเอกชน ซื้อที่ด้วยราคาที่เป็นธรรม ไม่ใช่ไปเวนคืนและสร้างอ่างเก็บน้ำ"
"ฉะนั้น ทฤษฎีใหม่ นี่ จะขยายขึ้นไปได้ อาจจะทั่วประเทศ แต่ต้องช้าๆ เพราะว่าต้องสิ้นเปลือง สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายไม่ใช่น้อยๆ แต่ว่าค่อยๆ ทำ และเมื่อทำแล้ว ก็นึกว่าเป็นวิธีการอย่างหนึ่ง ที่จะทำให้ประชาชนมีกินแบบตามอัตภาพคืออาจไม่รวยนัก แต่ก็พอกินไม่อดอยาก ฉะนั้นก็นึกว่า ทฤษฎีใหม่ นี้คงมีประโยชน์ได้ แต่ต้องทำด้วยความระมัดระวัง"
"ดินมีปัญหา ไม่ค่อยมีใครเขาอยากทำ เพราะแก้ไขยากเราจึงต้องทำ"
"พื้นที่ดินในประเทศไทยเป็นดินที่มีปัญหาประมาณ 51.09 % อีก 48.91% เป็นพื้นที่ดินดี "
หนังสือ"แม่อยากให้เธออยู่กับดิน"
อันเนื่องมาจากโครงการในพระราชดำริ มีจำนวนกว่า 4100 โครงการ
ตั้งต้นที่น้ำ มองภาพปัญหาน้ำ น้ำท่วม น้ำแล้ง น้ำเสีย แล้วใช้วิธีแก้โดยธรรมชาติ ฝนหลวงแก้น้ำแล้ง
โครงการอ่างเก็บน้ำและระบบชลประทาน และฝายชะลอความชุ่มชี้นตามลำน้ำต่างๆ ทำให้ดินมีความชุ่มชื้น ผืนป่าเสื่อมโทรมกลับงอกงามเป็นป่าสมบูรณ์ เป็นการปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก และเก็บน้ำที่สร้างแล้วไว้ในที่สูง
เรื่องดิน เป็นปัจจัยที่สำคัญในการผลิตทางการเกษตร ปัญหาคือ ดินเปรี้ยว ดินทราย ดินตื้น ดินลูกรัง ดินดาน ดินเสื่อมความอุดมสมบูรณ์ ดินถูกชะล้างพังทลาย โดยได้เริ่มต้นจากแปลงทดลอง เมื่อได้ผลแล้วจึงนำไปขยายผลในพื้นที่จริง เพื่อทำให้ดินที่มีปัญหาเพาะปลูกไม่ดี กลับฟื้นคืนมาจนสามารถปลูกพืชผลต่างๆได้ดี ส่งผลเพิ่มรายได้เกษตรกร มีความเป็นอยู่ดี
1.ฝนหลวง แก้ปัญหาความแห้งแล้ง
2. รักษาและเพิ่มป่าไม้ ซึ่งเป็นที่เก็บน้ำที่ดีที่สุด
3 ฝายต้นน้ำ เพื่อชะลอน้ำ (Checkdam) สร้างความชุ่มชื้นรักษาผืนป่า
4 หญ้าแฝก ป้องกันดินพังทะลาย ชะลอความรุนแรงของน้ำ เพิ่มพื้นที่เพาะปลูก
5 อ่างเก็บน้ำบริเวณเชิงเขา เก็บน้ำไว้บริหารได้ง่าย
6.เขื่อน เก็บน้ำไว้บริหาร ชลประทาน บรรเทาปัญหา น้ำท่วม น้ำแล้ง
7 เกษตรทฤษฎีใหม่ พึ่งพาตนเอง ใช้ทรัพยากรคุ้มค่า
8 แก้มลิง ป้องกันน้ำท่วม
9 คันกั้นน้ำ ป้องกันน้ำท่วม
10 ทางผ่านน้ำ (Flood way) ป้องกันน้ำท่วม
11 กังหันน้ำชัยพัฒนา แก้ปัญหาน้ำเสีย
12 ช่องทางระบายน้ำลงทะเล (คลองลัดโพธิ์) ป้องกันน้ำท่วม
13 ป่าชายเลน เพื่อรักษาระบบนิเวศน์ชายฝั่ง และ ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง
ดิน : ดินเป็นวัสดุธรรมชาติ ที่เกิดจากการผุพังสลายตัวของหินและแร่ตลอดจนซากพืชซากสัตว์ผสมคลุกเคล้ากัน ดินปกคลุมพื้นผิวโลกอยู่เป็นชั้นบางบาง เป็นที่ยึดเหนี่ยวและเจริญเติบโตของพืช รวมถึงเป็นแหล่งน้ำและอาหารของสิ่งมีชีวิตอื่นอื่น ที่อาศัยอยู่ในดินและบนดิน
ดินที่เหมาะสมสำหรับการเกษตรกรรม ต้องมีคุณสมบัติต่างๆดังนี้
มีแร่ธาตุ ที่เรียกว่าปุ๋ย ส่วนประกอบสำคัญคือ
1 N (nitrogen) ในรูป nitrate
2 P (Phosphorus) ในรูป phosphate
3 K (potassium)
และแร่ธาตุอื่นๆ O H Mg Fe
มีระดับเปรี้ยว ด่าง ใกล้เป็นกลาง ( pH 7 )
มีความเค็ม ต่ำ
มีจุลินทรีย์
มีความชื้นเหมาะสม (ไม่แห้ง ไม่แฉะ)
มีความโปรงพอเหมาะ (ไม่แข็ง)
ดินที่มีปัญหา
1.ศูนย์ศึกษาการพัฒนา เขาหินซ้อน ฉะเชิงเทรา : ดินทราย มีแร่ธาตุน้อย
2. ศูนย์ศึกษาการพัฒนา ห้วยฮ่องไคร้ เชียงใหม่ : หิน กรวด แห้งแล้ง
3. ศูนย์ศึกษาการพัฒนา พิกุลทอง นราธิวาส: ดินเปรี้ยวจัด
4. ศูนย์ศึกษาการพัฒนา ห้วยทราย เพชรบุรี : ดินทราย มีแร่ธาตุน้อย ดินดาน
5. ศูนย์ศึกษาการพัฒนา ภูพาน สกลนคร: ดินทราย ดินเค็ม ขาดน้ำ
6. ศูนย์ศึกษาการพัฒนา อ่าวคุ้งกระเบน จันทบุรี : ดินเค็ม
7. โครงการ เขาชะงุ้ม ราชบุรี: ดินแข็ง ดิน-หินลูกรัง
8. โครงการ วัดมงคลชัยพัฒนา สระบุรี : ขาดน้ำ
9 โครงการ ปากพนัง นครศรีธรรมราช : น้ำเค็ม ดินเค็ม ดินเปรี้ยวจัด
10 ที่ดิน ต.บ้านพริก อ.บ้านนา นครนายก: ดินเปรี้ยว น้ำท่วม น้ำแล้ง
11 โครงการ หนองพลับ - กลัดหลวง ประจวบคีรีขันธ์ : ดินลูกรัง ดินดาน
12 โครงการ หุบกะพง-ดอนขุนห้วย เพชรบุรี : ดินทราย มีแร่ธาตุน้อย ดินดาน ขาดน้ำ
13 โครงการ สหกรณ์สันกำแพง เชียงใหม่ : ดินลูกรัง ขาดน้ำ
ดินที่พบในประเทศไทย
ดินเค็ม เนื้อดินค่อนข้างหยาบทับอยู่บนเนื้อค่อนข้างละเอียด พบในที่ลุ่ม ระบายน้ำเลว มีปัญหาการเกษตรเนื่องจากความเค็ม
ดินเหนียว เนื้อดินละเอียด พบในที่ลุ่ม ระบายน้ำเลว น้ำขังได้ดี เหมาะสำหรับการทำนาข้าว
ดินร่วนละเอียด เนื้อดินค่อนข้างละเอียด พบในที่ลุ่ม ระบายน้ำค่อนข้างเลว เหมาะสำหรับการทำนาข้าว
ดินร่วนปนทราย เนื้อดินค่อนข้างหยาบ พบในที่ดอน ระบายน้ำดี เหมาะสำหรับปลูกพืชไร่ ไม้ผล
ชุดดินในประเทศไทย
ลักษณะดินและคุณสมบัติของดิน แบ่งได้ 2 กลุ่มหลัก
ลักษณะทางกายภาย ได้แก่ ชั้นดิน สีดิน เนื้อดิน โครงสร้างดิน ความหนาแน่นของดิน อุณหภูมิดิน ความชื้นในดิน
ลักษณะทางเคมี ได้แก่ ปฏิกิริยาดิน ความสามารถในการแลกเปลี้่ยนประจุบวกของดิน เป็นต้น
ชั้นดิน เมื่อขุดดินลึกลงไปแนวดิ่ง จะเห็นดินแบ่งเป็นชั้นๆ เรียกว่าชั้นดิน แต่ละชั้นมีความหนาแตกต่างกันไปขึ้นกับกระบวนการเกิดและพัฒนาของดินนั้น โดยทั่วไปดินบนมีความอุดมสมบูรณ์สูง ควรดูแลรักษาไว้ไม่ให้สูญเสียไป
ชั้นดินแบ่งได้เป็น 6 ชั้น
1 ชั้น O หรือชั้นดินอินทรีย์เป็นอินทรีย์วัตถุซึ่งมาจากการสลายตัวของซากพืชซากสัตว์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นใบไม้กิ่งไม้และหญ้ามักมีสีดำคล้ำ
2 ชั้นดิน A หรือชั้นดินแร่ธาตุ
เป็นชั้นดินแร่ธาตุผสมคลุกเคล้ากับอินทรียวัตถุมักมีสีคล้ำ มีลักษณะการรบกวนจากการไถพรวนในพื้นที่เกษตร
3 ชั้นดิน E หรือชั้นดินชะล้าง
เป็นชั้นที่มีการสูญเสีย แร่ดินเหนีว เหล็ก หรืออินทรียวัตถุ ออกไปโดยการชะล้างซึมลึก ชั้นดินนี้มักมีสีจากและมีเนื้อดินหยาบกว่าชั้นชั้นที่อยู่ถัดไป
4ชั้นดิน B หรือชั้นดินล่าง
เป็นชั้นที่แสดงถึงการเคลื่อนย้ายวัสดุจากตอนบนมาสะสม มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนา ทำให้ดินมีลักษณะแตกต่างกัน เช่น เกิดโครงสร้างดิน สีดิน เนื้อดินที่แตกต่างกัน โดยทั่วไปดินในชั้นดินนี้จะมีสีน้ำตาล เทา ดำ เขียว เหลือง และแดง
5 ชั้นดิน C หรือชั้นวัตถุต้นกำเนิดดิน
เป็นชั้นของวัสดุที่เกาะตัวกันอยู่หลวมๆ ประกอบด้วยหินและแร่ที่กำลังผุพังสลายตัว หรือตะกอนที่ถูกพัดพามาจากที่อื่นซึ่งต่อไปจะพัฒนาเป็นดิน
6 ชั้นดิน R หรือชั้นพินพื้น
เป็นชั้นหินแข็งชนิดต่างๆ เป็นหินที่ยังไม่ผุพังสลายตัวอละเชื่อมกันแน่น
สีดิน เป็นคุณสมบัติของดินที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า กินที่ระบายน้ำดีมักมีสีแดงหรือเหลือง ดินที่มีน้ำขังในฤดูฝนมักพบจุดประสีสนิมเหล็ก ดินที่มีน้ำแช่ขังถาวรเช่น ป่าชายเลน จะมีสีน้ำเงินปนเทา หรือเทาปนเขียว ดินที่มีอินทรียวัตถุอยู่มากมักสีดำคล้ำ ดินจืดขาดธาตุอาหารพืชมักมีสีขาวซีด
พื้นที่ดินในประเทศไทยเป็นดินที่มีปัญหาประมาณ 51.09 % อีก 48.91% เป็นพื้นดินที่ไม่มีปัญหา
ดินดี คือดินที่สามารถใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกได้อย่างดี มีธาตุอาหาร น้ำและอากาศในสัดส่วนที่เหมาะสม ดินดีมักมีหน้าดินสีดำ มีปริมาณอินทรียวัตถุสูง มีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชสูง ไม่มีสารที่เป็นพิษต่อพืช มีความเป็นกรดด่าง pH 5.5-7.0 และไม่มีอุปสรรคในการไถพรวน ไม่ต้องปรับปรุงดินมากนักในการปลูกพืช
ดินเลว คือ ดินไม่ดี ต้องจัดการแก้ไขให้เหมาะสมเสียก่อน ที่เกิดโดยธรรมชาติได้แก่ ดินตื้น ดินปนกรวด ดินเค็ม ดินเปรี้ยวจัด ดินทรายจัด ดินอินทรีย์
ดินเลวและการแก้ปัญหา
ดินตื้น
ดินเปรี้ยว
-พระราชดำริในการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวจัด โครงการ แกล้งดิน
ดินเปรี้ยวจัด ( Acid Sulfate Soil) เป็นดินกรดรุนแรงมาก มีค่าความเป็นกรดด่าง(pH)น้อยกว่า 4.0 ขาดธาตุอาหารพืช มีเหล็กและอะลูมิเนียมมากจนเป็นพิษต่อพืช พบสารสีเหลืองฟางข้าวที่เรียกว่า จาโรไซต์และคราบสนืมเหล็กในชั้นดิน เป็นดินที่มีสารประกอบกำมะถันมาก ปลูกพืชไม่เจริญเติบโต ให้ผลผลิตต่ำ
โครงการ "แกล้งดิน" เริ่มจากวิธีการ แกล้งดินให้เปรี้ยว ด้วยการทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกันไป เมื่อดินแห้ง สารประกอบกำมะถัน(สารไพไรต์) ที่มีอยู่ในดินทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ ปลดปล่อยกรดกำมะถันออกมาทำให้ดินเป็นกรดจัด เมื่อแกล้งดินให้เปรี้ยวสุดขีด หรือทำให้ดินเป็นกรดจัด จนกระทั่งถึงจุดที่พืชไม่สามารถเจริญงอกงามได้ ให้ศึกษาทดลองเพื่อหาวิธีปรับปรุงดินดังกล่าวให้เพาะปลูกพืชได้
วิธีการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวจัด ตามแนวพระราชดำริ
1 ใช้น้ำชะล้างกรด ควบคู่กับการใช้วัสดุปูนปรับปรุงดิน
2 ควบคุมระดับน้ำใต้ดินให้อยู่เหนือชั้นดินเลนที่มีสารประกอบไพไรต์อยู่หรือประมาณ 80 ซ.ม. ใต้ผิดดิน เพื่อป้องกันการเกิดกรดกำมะถัน
3 ใช้พันธ์พืชทนเปรี้ยว
กรณีเขาเต่าดินบริเวณเขาเต่า
ในหลวงทรงทอดพระเนตรและอธิบาย ถึงดึงที่เจาะขุดขึ้นมา 3 เมตร ที่บริเวณหน้าโรงเรียนเทศบาลตำบลเขาเต่า ว่า
ช่วงบนสุดของดินเป็นดินถม ซึ่งส่วนบนสุดเป็นดินลูกรัง ชัั้นถัดไปเป็นดินทราย ส่วนดินที่ลึกประมาณ 150 ซ.ม. ลงไปเป็นดินเดิมก่อนถม เป็นดินที่เลย ทั้งเปรี้ยวและเค็ม สังเกตุดูจะพบจุดสีเหลืองฟางข้าว เรียกว่า Jarosite mottles ดินพวกนี้มีกำมะถันมาก ถ้าดินไม่แห้ง จะไม่เกิดปฏิกิริยาเคมี แต่ถ้าดินแห้ง กำมะถันในดิน(S) จะเกิดปฏิกิริยากับอ๊อกซิเจนในอากาศ (O2) กลายเป็น SO3 และเมื่อทำปฏิกิริยากับน้ำจะกลายเป็นกรดกำมะถัน (H2SO4) ทำให้ดินเป็นกรดจัด ต่อมามีน้ำทะเลมาถึง เมื่อน้ำลดไป เกลือจะสะสมอยู่หน้าดิน ทำให้ดินนี้ทั้งเค็มและเปรี้ยวจัด คุณภาพเลยใช้ปลูกอะไรไม่ได้
ปัญหาดินทราย
พระราชดำริแก้ไขปัญหาหน้าดินถูกชะล้าง
พระราชกระแส เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2512 " จำได้ว่าที่โรงเรียนมีครูคนหนึ่ง สอนเรื่องวิทยาศาสตร์ เรื่องการอนุรักษ์ดินและน้ำ แล้วให้เขียนว่า ภูเขาต้องมีป่า ไม่อย่างนั้นฝนตกลงมาจะชะดินลงเร็วทำให้ไหลตามน้ำไป ทำให้เสียหาย ดินหมดจากภูเขา เพราะไหลตามสายน้ำไป ก็เป็นหลักของป่าไม้ เรื่องการอนุรักษ์ดิน ถ้าเราไม่รักษาป่าข้างบน ก็จะเดือดร้อนตลอด ตั้งแต่ดินภูเขาหมดไป จนกระทั่งที่มีตะกอนลงมาในเขื่อน มีตะกอนลงมาในแม่น้ำ ทำให้น้ำท่วม นี่เรียนมาตั้งแต่ 10 ขวบ"
พระราชดำริการใช้หญ้าแฝกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำ
ปประโยชน์ของหญ้าแฝก Vetiver Grass Biomass Data and its usefulness
ประโยชน์ของหญ้าแฝก Vetiver Grass Biomass Data and its usefulness
- ใบ จับคาร์บอน
- ใบ ปล่อยออกซิเจน
- มวลชีวภาพของต้น 45 กรัมต่อต้น หรือ 300 กิโลกรัมต่อไร่
- มวลชีวภาพของราก 50 กรัมต่อต้น หรือ 320 กิโลกรัมต่อไร่
- ช่วยกักตะกอนดินเพิ่ม 60-80%
- ลดการชะล้างหน้าดิน และลดความเร็วน้ำไหลบ่า 50-70%
- รากช่วยปลดปล่อยสารอินทรีย์เพิ่มความสมบูรณ์ของดิน
- รากเป็นแหล่งของเชื้อจุลินทรีย์ในดิน
- เพิ่มอินทรีย์วัตถุในดิน 64 กรัมต่อต้น หรือ 412 กิโลกรัมต่อไร่
ทฤษฎีใหม่
เกษตรทฤษฎีใหม่
1.ต้องมีที่ดิน
2.ขุดเป็นบ่อน้ำ แล้วต้องมีน้ำเพียงพอด้วย
พระราชดำรัส ทฤษฎีใหม่
"หลักมีว่า แบ่งที่ดินเป็นสามส่วน ส่วนหนึ่งเป็นที่สำหรับปลูกข้าว อีกส่วนหนึ่งสำหรับปลูกพืชไร่ พืชสวน และก็มีที่สำหรับขุดสระน้ำ ดำเนินการไปแล้ว ทำอย่างธรรมดาอย่างชาวบ้านในที่สุดได้ข้าวได้ผัก ขายข้าวกับผักนี่มีกำไร 2 หมื่นบาทต่อปี หมายความว่าโครงการนี้ใช้งานได้ เมื่อใช้งานได้ก็ขยายโครงการ ทฤษฎิใหม่นี้โดยทำที่อื่น นอกจากมีสระน้ำแล้ว จะต้องมีอ่างเก็บน้ำที่ใหญ่กว่าอีกแห่ง เพื่อเสริมสระน้ำ ในการนี้ได้รับความร่วมมือจากบริษัทเอกชน ซื้อที่ด้วยราคาที่เป็นธรรม ไม่ใช่ไปเวนคืนและสร้างอ่างเก็บน้ำ"
"ฉะนั้น ทฤษฎีใหม่ นี่ จะขยายขึ้นไปได้ อาจจะทั่วประเทศ แต่ต้องช้าๆ เพราะว่าต้องสิ้นเปลือง สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายไม่ใช่น้อยๆ แต่ว่าค่อยๆ ทำ และเมื่อทำแล้ว ก็นึกว่าเป็นวิธีการอย่างหนึ่ง ที่จะทำให้ประชาชนมีกินแบบตามอัตภาพคืออาจไม่รวยนัก แต่ก็พอกินไม่อดอยาก ฉะนั้นก็นึกว่า ทฤษฎีใหม่ นี้คงมีประโยชน์ได้ แต่ต้องทำด้วยความระมัดระวัง"
Subscribe to:
Posts (Atom)