Sunday, September 9, 2012

The Seven Habits of Highly Effective People (1989)

ภาษาอังกฤษจาก wikipidia แปล เป็นไทยโดย Z : Thammada.com

The Seven Habits of Highly Effective People
(1989)

นิสัยของคนประสิทธิภาพสูง 7 ประการ

 1-3 Independence or Self-Mastery
ข้อ 1-3 จัดการกับตนเอง

The First Three Habits surround moving from dependence to independence (i.e., self mastery):
3ข้อแรกเปลี่ยนตัวเองจากการตัดสินใจต่างๆจากการถูกชักนำ เป็น การตัดสินใจอย่างมีอิสระ
  • Habit 1: Be Proactive
    ประการแรก : เป็นฝ่ายรุก
Take initiative in life by realizing that your decisions (and how they align with life's principles) are the primary determining factor for effectiveness in your life. Take responsibility for your choices and the consequences that follow.
เริ่มต้นโดยเชื่อมั่นว่า ความมีประสิทธิภาพในชีวิตของเรานั้น เกิดขึ้นจากการตัดสินใจของตัวเราเองเป็นหลัก(ว่าเราจะนำชีวิตเราไปในทางไหน) เมื่อตัดสินใจแล้ว ต้องรับผิดชอบต่อทางที่เราเลือกและผลที่จะตามมา
  • Habit 2: Begin with the End in Mind
    ประการที่2 : เริ่มต้นด้วยความคิดถึงจุดสุดท้ายที่ต้องการ
Self-discover and clarify your deeply important character values and life goals. Envision the ideal characteristics for each of your various roles and relationships in life. Create a mission statement.
หาคำตอบของ จุดมุ่งหมายสำคัญในชีวิต และ ตัวตนที่เราต้องการจะเป็น จินตนาการตัวตนในอุคติของแต่ละบทบาทรับผิดชอบ และความสัมพันธ์กับสิ่งอื่น ในชีวิต. เมื่อรู้ว่าเราต้องการจะเป็นอะไรแล้ว ก็หาวิธีการต่างๆเพื่อไปสู่จุดนั้น
  • Habit 3: Put First Things First
    ประการที่ 3 : จัดลำดับความสำคัญ
Prioritize, plan, and execute your week's tasks based on importance rather than urgency. Evaluate whether your efforts exemplify your desired character values, propel you toward goals, and enrich the roles and relationships that were elaborated in Habit 2.
จัดลำดับความสำคัญ วางแผน และลงมือทำ วิธีต่างๆที่เราหาไว้จากประการที่ 2 ในแต่ละสัปดาห์โดยเรียงทำสิ่งที่สำคัญก่อนสิ่งที่เร่งด่วนแต่ไม่สำคัญ เมื่อทำแล้วประเมินผลดูว่า แรงที่เราลงไปนั้นได้ทำให้เราเข้าใกล้หรือมุ่งสู่จุดหมายที่เราตั้งไว้ และ คุ้มแรงหรือไม่เพียงใด

Interdependence
จัดการปัจจัยภายนอก

The next three have to do with Interdependence (i.e., working with others):
อีก 3 ข้อ เป็นสิ่งที่ควรทำกับคนอื่นๆ
  • Habit 4: Think Win-Win
    ประการที่ 4 : คิดหาทางที่ได้ประโยชน์ทุกฝ่าย
Genuinely strive for mutually beneficial solutions or agreements in your relationships. Value and respect people by understanding a "win" for all is ultimately a better long-term resolution than if only one person in the situation had gotten his way.
ความสัมพันธ์และการแก้ปัญหาต่างๆกับผู้อื่น จะยั่งยืนได้ต้องเป็นทางเลือกที่ได้ประโยชน์ทุกฝ่าย ถ้ามีเพียงบางฝ่ายได้ประโยชน์สถานะการณ์หรือความสัมพันธ์นั้นจะไม่ยั่งยืน
  • Habit 5: Seek First to Understand, Then to be Understood
    ประการที่ 5 : พยายามเข้าใจผู้อื่นก่อนที่จะให้ผู้อื่นเข้าใจเรา
Use empathic listening to be genuinely influenced by a person, which compels them to reciprocate the listening and take an open mind to being influenced by you. This creates an atmosphere of caring, respect, and positive problem solving.
เป็นผู้ฟังที่ดี เปิดใจฟังคนอื่น ช่วยให้เราเข้าใจความคิด สถานะการณ์ในมุมมองของอีกฝ่าย และสร้างบรรยากาศที่ดีในการแก้ปัญหา
  • Habit 6: Synergize
    ประการที่ 6 : รวมพลัง
Combine the strengths of people through positive teamwork, so as to achieve goals no one person could have done alone. Get the best performance out of a group of people through encouraging meaningful contribution, and modeling inspirational and supportive leadership.
ดึงจุดแข็งของแต่ละคนในกลุ่มมาใช้เพื่อบรรลุเป้าหมาย ส่งเสริมการมีส่วนร่วม โดยวิธีเชิงบวก ชักนำแบบสนับสนุน ทำตัวเป็นตัวอย่าง

Self Renewal
ชาจน์พลัง

The Last habit relates to self-rejuvenation:
ข้อสุดท้ายเกี่ยวกับการชาร์จพลังให้ตัวเอง
  • Habit 7: Sharpen the Saw
    ประการที่7 : ชาร์จพลัง
Balance and renew your resources, energy, and health to create a sustainable, long-term, effective lifestyle. It primarily emphasizes on exercise for physical renewal, prayer (meditation, yoga, etc.) and good reading for mental renewal. It also mentions service to the society for spiritual renewal.
ในระยะยาวถ้าเราไม่รู้จักชาร์จพลังซะบ้าง เราจะสูญเสียพลังในการเป็นคนประสิทธิภาพสูงไป เราจึงต้องหาวิธีเติมพลังในตัวเรา กิจกรรมอย่าง การออกกำลังกาย ช่วยเสริมพลังกาย, การภาวนา อย่างทำสมาธิ โยคะ อ่านสิ่งที่เป็นประโยชน์ การพบปะพูดคุยกับผู้ชำนาญต่างๆในเรื่องที่เป็นประโยชน์ ช่วยเสริมพลังปัญญา, การทำบุญ ช่วยเหลือสังคม เสริมพลังใจ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เราสามารถเป็นคนประสิทธิภาพสูงได้ไปตลอด